การเตรียมวัตถุดิบสำหรับการแปรรูปอาหาร-การทำความสะอาดวัตถุดิบ
ผลผลิตทางการเกษตรหลังจากเก็บเกี่ยวนำมาแปรรูปโดยตรงไม่ได้ เพราะจะมีส่วนที่บริโภคไม่ได้หรือมีสารอื่นปนเปื้อนอยู่หรือลักษณะกายภาพไม่เหมาะสมต่อการแปรรูป(ขนาด รูปร่าง สี) ดังนั้นขั้นตอนการเตรียมวัตถุดิบเป็นขั้นตอนที่สำคัญ เช่น การล้างทำความสะอาด คัดเลือก คัดเกรด ปอกเปลือก การหั่นชิ้น โดยขั้นตอนเตรียมวัตถุดิบสำหรับการแปรรูปอาหาร สามารถใช้เครื่องจักรแทนแรงงานคนได้หลายขั้นตอน เช่น เครื่องล้างผักอัตโนมัติ เครื่องปอกเปลือก เครื่องไสค์ผัก เครื่องหันเต๋า เครื่องบดละเอียด เป็นต้น
การทำความสะอาดวัตถุดิบ
การทำความสะอาดวัตถุดิบเป็นขั้นตอนสำคัญกระบวนการแปรรูปอาหาร ใช้กำจัดสิ่งปนเปื้อนออกจากวัตถุ ได้แก่
- โลหะ เช่น เศษเหล็ก เศษตะปู หิน
- พืช เช่น วัชพืช เศษเปลือก
- สัตว์ เช่น แมลง ตัวหนอน ขน กระดูก
- สารเคมี เช่น ยาฆ่าแมลง ยาฆ่าหญ้า ปุ๋ย
- จุลินทรีย์ เช่น รา ยีสต์ แบคทีเรีย
- สารพิษที่จุลทรีย์สร้างขึ้น
ประเภทการทำความสะอาดวัตถุดิบ
1. การทำความสะอาดการใช้น้ำ เช่น การจุ่มในน้ำ การสเปรย์ด้วยน้ำ การไหลไปกับน้ำ
2. การทำความสะอาดแบบแห้ง เช่น การใช้ลมเป่า ใช้แม่เหล็ก
การเลือกใช้วิธีใดขึ้นอยู่กับวัตถุดิบและชนิคของสารที่คาดว่าจะปนเปื้อน
ประโยชน์การทำความสะอาดหรือล้างวัตถุดิบ
1. ลดป้องกันไม่ให้เกิดผลเสียต่ออุปกรณ์ที่ใช้ในกระบวนการแปรรูปอาหารโดยเฉพาะ พวกเศษหิน เศษโลหะ อาจทำให้เครื่องจักรเกิดความเสียหาย
2. ลดจำนวนจุลินทรีย์ที่ปนเปื้อนวัตถุดิบ ส่งผลให้วัตถุดิบเน่าช้าลง
3. ลดค่าใช้จ่ายในกระบวนการผลิต
4. ผลิตภัณฑ์อาหารที่มีคุณภาพดีขึ้น
การทำความสะอาดโดยการใช้น้ำมีประสิทธิภาพดีกว่าทำความสะอาดแบบแห้ง เช่น ช่วยกำจัดเศษดินจากรากพืช รวมทั้งฝุ่นละออง และยาปราบศัตรูพืชออกจากผักหรือผลไม้ การทำความสะอาดน้ำเกิดความเสียหายต่อวัตถุดิบน้อยกว่าแบบแห้ง แบบน้ำยังสามารถเติมน้ำยาทำความสะอาด (detergent) หรือสารฆ่าจุลินทรีย์ (sterilant) ลงไปด้วย
เครื่องจักรล้างผัก – เนื้อสัตว์ แบบอัตโนมัติ
เครื่องจักรล้างผักแบบอัตโนมัติ การหมุนเวียนน้ำกลับมาใช้ การติดตั้งระบบกรองน้ำ และแยกเศษผงออก แล้วปั๊มน้ำน้ำที่ผ่านการกรองหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ ช่วยประหยัดน้ำได้อย่างดี นอกจากนี้ยังมีระบบการลำเลียงเป้นสายพานแบบตาข่าย ไม่ทำให้ผักช้ำ คงความสดใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถ่ใช้ล้างทำความสะอาดไก่ทั้งตัว ชิ้นเนื้อสัตว์ ถั่ว ผักทุกประเภท และผลไม้ เป็นต้น เครื่องจักรใช้ในอุตสาหกรรม รายละเอียดคลิกที่นี้
อ้างอิง
ดร.นิธิยา รัตนาปนนท์,หลักการแปรรูปอาหารเบื้องต้น,พิมพ์ครั้งที่ 2 ,โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์ 2558