การลดขนาดวัตถุดิบ
การลดขนาดวัตถุดิบเป็นหน่วยปฏิบัติการที่ทำอาหารมีขนาดชิ้นเล็กลงตามที่ต้องการ เช่น การทำอาหารให้เป็นผงและเป็นอนุภาคเล็กๆ
ประโยชน์ของการลดขนาดให้เล็กลงคือ
1. เพิ่มอัตราส่วนของพื้นที่ผิวต่อปริมาตรของวัตถุดิบ ทำให้เพิ่มอัตราการทำแห้ง การให้ความร้อนความเย็น เพิ่มประสิทธิภาพและอัตราเร็วของการสกัดสารที่ละลายได้
2. เมื่อนำไปใช้กับการร่อนผ่านตะแกรงแรง ทำให้สามารถกำหนดขนาดของอนุภาคได้เพื่อทำให้มีขนาดเหมาะสมตามบทบาทหน้าที่หรือเหมาะสมกับกระบวนการผลิตที่ถูกต้อง เช่น น้ำตาลไอซิ่ง เครื่องเทศ
3. วัตถุดิบที่มีขนาดอนุภาคเท่าๆกัน เมื่อนำไปผสมให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกันจะทำได้ง่ายขึ้น เช่น ซุปผงแห้ง และส่วนผสมเค้ก
วิธีการต่างๆที่ใช้สำหรับการลดขนาดเช่น
1. การสับ การตัด การหั่นชิ้นบางๆและการหั่นเป็นเต่า เช่น การหันแครอท ผลไม้ หรือถั่วให้เป็นชิ้นบางๆ การซอยนัท การซอยผัก เนื้อบดหรือผ่านเบคอนเป็นชิ้นบางๆ
2. การโม่เพื่อทำให้เป็นผงหรือบดละเอียดให้มากขึ้น
3. การทำให้เป็นอิมัลชันและการทำฮอโมจีไนเซชันจะให้กับอาหาร เช่น มายองเนส น้ำนม เนย ไอศกรีม
ตัวอย่างเครื่องจักรแปรรูปอาหารเพื่อลดขนาดวัตถุดิบ