เทรนด์การบริโภคเนื้อสัตว์จากพืช หรือ Plant-based meat
ปัจจุบันกระแสการบริโภคเนื้อสัตว์จากพืช หรือ Plant-based meat ถือเป็นทางเลือกอาหารเพื่อสุขภาพที่ได้รับความนิยมอย่างสูง เนื่องจากผู้บริโภครุ่นใหม่มีความเอาใส่ใจสุขภาพมากขึ้น จากการคาดการณ์ในปี 2020-2025 ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์จากพืชมีอัตราการเติบโตสูงถึง 78% โดยตลาดส่วนใหญ่อยู่ในประเทศทั้งในแถบเอเชีย ยุโรปและอเมริกา ในขณะที่ในประเทศไทยคาดว่าจะเติบโตจนมีมูลค่าสูงถึง 4.5 หมื่นล้านบาทในปี 2025
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริโภคเนื้อสัตว์จากพืช หรือ Plant-based meat
1. ความยั้งยืนทางอาหาร: เนื่องจากจำนวนประชาการทั่วโลกมีแนวโน้วเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องและคาดการณ์ว่าในปี 2050 จะมีประชากรทั่วโลกสูงถึง 9.7 พันล้านคน ทำให้การบริโภคเนื้อสัตว์เป็นที่ต้องการอย่างรวดเร็วถึงร้อยละ 70-80% ระหว่างปี 2017-2050 เนื้อสัตว์จากพืชจึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจมากกว่าเนื้อสัตว์เนื่องจากช่วยลดปัญหาการขาดแคลนอาหารได้
2. เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม: เนื่องจากกระบวนการผลิตเนื้อสัตว์จากพืชใช้พื้นที่เพราะปลูกน้อยกว่าการทำปศุสัตว์ ลดการทำลายสิ่งแวดล้อม ลดการใช้พลังงานและเชื้อเพลิง ลดปัญหาโลกร้อน และลดปัญหาการขาดแคลนอาหารได้นอกจากนี้ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาได้รัเนื้อสัตว์จากพืช (Plant based meat) ได้บการยอมรับว่าเป็นเนื้อสัตว์ทางเลือกที่มีความยั่งยืนเนื่องจากกระบวนการผลิตใช้ทรัพยากรน้อยและช่วยคืนความอุดมสมบูรณ์ให้กับดิน
3. คุณค่าทางโภชนาการ: เนื้อสัตว์จากพืชทำมาจากโปรตีนจากพืช เช่น โปรตีนจากถั่วเหลือง ถั่วลันเตา เห็ดและอัลมอนมีปริมาณไขมันต่ำ มีแคลลอรี่ต่ำ มีใยอาหารและมีกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกายเช่น ทริปโทเฟน (Tryptophan) ลิวซีน (Leucine) อาร์จีนีน (Arginine) ที่จำเป็นแต่อการเสริมการทำงานของกล้ามเนื้อและสุขภาพของทุกเพศทุกวัย นอกจากนี้เนื้อสัตว์จากพืชมีความปลอดภัยต่อสุขภาพสูงเนื่องจากไม่มีการฉีดฮอร์โมน ไม่มีการฉีดยาปฏิชีวนะและไม่มีสารตกค้างซึ่งเป็นอันตรายต่อร่างกาย
4. รสชาติความอร่อยใกล้เคียงกับเนื้อสัตว์: เนื้อสัตว์จากพืชผ่านการคิดค้นและพัฒนาทั้งทางด้านรสชาติ เนื้อสัมผัสและรูปลักษณ์ให้มีความใกล้เคียงกับเนื้อสัตว์มากขึ้น ยกตัวอย่างผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์จากพืชที่ได้รับความนิยม เช่น เบอร์เกอร์เนื้อ เนื้อบด ไส้กรอก เนื้อไก่ เนื้อปู กุ้ง แซลมอน และทูน่า เป็นต้น
ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์จากพืชมีอะไรบ้าง
ปัจจุบันเนื้อสัตว์เทียมมีหลายชนิดและมีวางขายตามร้านอาหารร้านสะดวกซื้อและห้างสรรพสินค้าอย่างแพร่หลายทั้งเป็นผลิตภัณฑ์พร้อมทานและพร้อมปรุง โดยเน้นเรื่องของรสชาติ รูปร่างและเนื้อสัมผัสให้ความชุ่มฉ่ำเนื่องจากผู้บริโภคต่างคาดหวังถึงรสชาติของอาหารที่มีความใกล้เคียงกับเนื้อสัว์จริง ในขณะที่ยังคงได้รับประโยชน์ต่อสุขภาพ
ตัวอย่างผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์จากพืชที่ได้ความนิยมทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ได้แก่
1. เบอร์เกอร์เนื้อเทียมที่ทำมาจากโปรตีนถั่วเหลืองหรือโปรตีนถั่วลันเตาผสมเห็ด ถั่ว และโปรตีนเกษตร นอกจากนี้พบว่าผู้ผลิตเบอร์เกอร์เนื้อเทียมบางรายทำมาจากถั่วเหลือง น้ำมันมะพร้าว น้ำมันเมล็ดทานตะวัน แป้งมันฝรั่ง ซิงค์ วิตามินต่างๆ เกลือ และน้ำ จากนั้นผ่านกระบวนการผสมและขึ้นรูปให้มีลักษณะคล้ายเนื้อสัตว์บดมากที่สุด
2. นักเก็ตจากโปรตีนพืชที่ทำจากการผสมผสานถั่วเหลือง ข้าวสาลี สารสกัดจากบีทรูทและพืชอาหารอื่นๆ
3. ไส้กรอกจากพืชที่ทำมาจากถั่วลันเตา มันมะพร้าว มันฝรั่ง สารปรุงแต่ง เกลือ และน้ำบีทรูทผสมวิตามินต่างๆ
4. หมูกรอบจากพืชทำจากโปรตีนถั่วลันเตาและโปรตีนเกษตร
5. ปลาทูน่าที่ทำจากโปรตีนพืชผสมกับสาหร่ายและส่วนผสมจากถั่วหกชนิด (ถั่วลันเตา ถั่วชิกพี ถั่วเลนทิล ถั่วเหลือง ถั่วฟาวา และถั่วน้ำเงิน)
นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์จากพืชยังคงมีการคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆอย่างต่อเนื่อง อาทิเช่น เนื้อวากิวจากพืชที่มีจุดเด่นด้านเนื้อสัมผัสที่มีเส้นใยกล้ามเนื้อไม่ใช้ลักษณะเป็นเนื้อบด เนื้อวากิวที่ได้จะมีลวดลายเนื้อหินอ่อนทีมีไขมันแทรกที่ทำมาจากไขมันพืช นอกจากนี้พบว่าเนื้อวากิวจากพืชมีความยืดหยุ่นและความชุ่มฉ่ำคล้ายเนื้อสัตว์จริงเป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์เทียมที่น่าสนใจ
อ้างอิง